Tuesday, October 18, 2011

[discussion_vu] คู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม จัดทำโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.. เผื่อเป็นประโยชน์


เตรียมการก่อน
ประสบการณ์ จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ (1)บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้น มา (2)กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด
จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้
(1) ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน
(2) ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ
(3) ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่าไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า 
แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว
(4) ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน

น้ำมาแล้ว
เสียง ประกาศเตือนภัยจาก อบต. ตั้งแต่เช้า แจ้งว่าน้ำคงจะเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงบ่าย ขอให้ประชาชนเตรียมป้องกันทรัพย์สินของตนเอง ผมนำรถยนต์ออกจากบ้านไปจอดไว้ยังที่ปลอดภัยนอกหมู่บ้าน กลับเข้ามาก็เริ่มติดตั้งบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน ติดตั้งเสาค้ำยัน ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก นำเครื่องสูบน้ำไดรโว่มาวางไว้ใกล้ประตูรั้ว ในตำแหน่งที่คาดว่าน้ำจะซึมเข้ามาและท่วมขังอยู่ ต่อสายไฟพร้อมใช้งาน แล้วรอน้ำที่กำลังเริ่มไหลเข้ามาในหมู่บ้านอย่างใจจดใจจ่อ
เวลา ประมาณ 16.00 น. น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านทุกถนนแล้ว มีน้ำซึมผ่านบานเหล็กที่ประตูรั้วเข้ามาในบ้านของผมปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำก็สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงจนเกิดความเสีย หายได้ เมื่อน้ำในถนนลดลง ผมไม่ต้องลำบากในการทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่มีดินโคลนตกค้างจากน้ำท่วมขัง เหมือนน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนอีกแล้ว 

ภาพบรรยากาศ

ติดตั้งบานเหล็กเข้ากับเสาประตูรั้วบ้าน พร้อมติดตั้งเสาค้ำยัน

http://www.bloggang.com/data/ampols/picture/1317710405.jpg

เข้า-ออก จากบ้านต้องใช้เก้าอี้บันไดตัวนี้ สังเกตระดับน้ำภายนอกบ้านเริ่มสูงมากแล้ว

http://www.bloggang.com/data/ampols/picture/1317710537.jpg

ขณะ ที่ถนนด้านนอกระดับน้ำสูงถึง 60 ซม. แต่ภายในบ้านมีน้ำรั่วซึมเข้ามาเพียงเท่านี้ และเมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำ น้ำก็จะแห้งภายใน นาที

http://www.bloggang.com/data/ampols/picture/1317710597.jpg

ลุยน้ำออกไปถ่ายจากนอกบ้านเข้ามา สภาพประตูกั้นน้ำจะมีลักษณะนี้

http://www.bloggang.com/data/ampols/picture/1317710667.jpg

บ้านข้าง ๆ ก็ติดตั้งบานประตูกั้นน้ำเช่นเดียวกัน

http://www.bloggang.com/data/ampols/picture/1317710742.jpg

อีกภาพหนึ่ง

http://www.bloggang.com/data/ampols/picture/1317710817.jpg

หวัง ว่าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่มีบ้านในหมู่บ้านจัดสรร ที่น้ำเคยท่วมแล้ว จะได้เป็นแนวทางในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านแสนรักในครั้ง 
ต่อไป ได้บ้างตามสมควรครับ.

Create Date : 04 ตุลาคม 2554
 
แพจอดรถ.jpg
แพขวดน้ำ.jpg
แพขวดน้ำโดย รศ.ดร.มานพ แจ่มกระจ่าง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 038-102094

แพจอดรถ2.jpg   ทางออกสำหรับคนมีรถ ที่อยู่ใรพื้นที่เสี่ยงครับวิธีคือ ซื้อยางรถสิบล้อมา 3เส้นที่ยังไม่ได้สูบ สอดไว้ใต้ท้องรถ แล้วสูบลมเข้าไป ก่อนสูบควรผูกเชือกตำแหน่งต่าง ๆ ที่จะทำการผูกยึดรถก่อน แล้วรถจะปลอดภัยในช่วงน้ำท่วมครับ                                                                           ส้วมกระดาษ.jpg 
สิ่งหนึ่งที่ผู้ประสบภัยจำเป็นต้องใช้และหลายคนคิดไม่ถึง
นั้นคือ "ส้วมกระดาษ" ที่ใช้ง่ายและขนส่งสะดวก
เพื่อใช้บรรเทาทุกข์ขั้นพื้นฐานของผู้ประสบภัย
'มูลนิธิซิเมนต์ไทยได้จัดส่งถุงยังชีพเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ไปแล้วกว่า15,000 ชุด และพร้อมจะเดินหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมอย่าง ต่อเนื่อง
โดยการแจกจ่าย 'สุขากระดาษซึ่งเป็นนวตกรรมจาก SCG Paper ...
ท่านใดสนใจร่วมบริจาค ติดต่อมูลนิธิซิเมนต์ไทย 02-586-5506




Do all which can make you rich with "SuperRich4u"

No comments:

Post a Comment

PAID CONTENT